วันศุกร์ที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2559

ขั้นตอนปฏิบัติการช่วยฟื้นคืนชีพ CPR ในผู้ป่วยที่เป็นผู้ใหญ่ หรือ เด็กโต


ขั้นตอนการทำ CPR ในผู้ป่วยผู้ใหญ่ หรือเด็กโต
1. ให้ลองเขย่าผู้ป่วยเบาๆ แล้วสังเกตว่า เคลื่อนไหวหรือหายใจหรือไม่ ถามครับว่า เป็นอะไรไหม ?”
                          2. ถ้าไม่ตอบสนอง ให้ตะโกนร้องขอความช่วยเหลือ ให้อีกคนหนึ่งโทรเรียกรถพยาบาล 1669 อย่าจากเด็กไปเรียกด้วยตนเองจนกว่าจะทำ CPR ครบ 2 นาที
                    3. ถ้ามีโอกาสที่ผู้ป่วยจะได้รับอันตรายที่กระดูกสันหลัง ให้ใช้คน 2 คนเคลื่อนย้ายเด็กเพื่อป้องกันคอและลำตัวบิด




4. ยกคางขึ้นด้วยมือข้างหนึ่ง ผลักศีรษะไปด้านหลังด้วยมืออีกข้างหนึ่ง




5. วางหูใกล้กับปากและจมูกของผู้ป่วย สังเกตการเคลื่อนไหวของหน้าอก
 สังเกตลมหายใจจากความรู้สึกจากแก้ม



6. ถ้าผู้ป่วยยังไม่หายใจใช้ปากประกบกับปาก บีบจมูกให้แน่นพยายามยกคางแหงนหน้าขึ้น
เป่าปาก 2 ครั้ง โดยที่เป่าปากใช้เวลาประมาณ 2 นาทีและพยายามให้หน้าอกขยาย





7. กดหน้าอกวางสันฝ่ามือบนหน้าอก ระดับราวนมให้มืออีกข้างหนึ่งวางบนมืออีกข้าง
กดหน้าอกให้กดลงไปให้ลึก 2 นิ้วกดหน้าอก 30 ครั้ง กดแต่ละครั้้งต้องเร็วและไม่มีการหยุด นับหนึ่ง นับสอง นับสาม นับสี่ นับห้า นับหก นับเจ็ด นับแปด นับเก้า นับสิบ สิบเอ็ด สิบสอง สิบสาม สิบสี่ สิบห้า สิบหก สิบเจ็ด สิบแปด สิบเก้า ยี่สิบ ยี่เอ็ด ยี่สอง ยี่สาม ยี่สี่ ยี่ห้า ยี่หก ยี่เจ็ด ยี่แปด ยี่เก้า สามสิบ หยุด

                                       8. เป่าปาก 2 ครั้ง ให้หน้าอกขยาย

                                       9. ทำซ้ำข้อ 7 กดหน้าอก 30 ครั้งตามด้วยเป่าปาก 2 ครั้ง เป็นระยะเวลา 2นาทีหลัง 2นาทีถ้าผู้ป่วยไม่หายใจ ไม่ไอ ไม่ขยับ ให้โทรหารถพยาบาล 1669 ทันทีครับทำซ้ำข้อ 9 จนกว่าผู้ป่วยจะตื่น

         ให้ระวังเสมอ กรณีผู้ประสบภัยจมน้ำ และ เวลาที่ขนย้ายผู้จมน้ำ ให้คำนึงไว้ว่าอาจได้รับอันตรายส่วนลำคอ และกระดูกสันหลัง อย่าหมุนคอ อย่าหงายหรือก้มคอโดยไม่จำเป็น ให้ศีรษะและคออยู่นิ่งให้มากที่สุดระหว่างขนย้ายผู้ป่วย คุณสามารถใช้ผ้าเช็ดตัวม้วนวางทั้ง2 ข้างของศีรษะ แล้วใช้เทปพันศีรษะเข้ากับกระดาน




ขั้นตอนการปฐมพยาบาล



ขั้นตอนการปฐมพยาบาล แบ่งออกเป็น 4 ขั้นตอน คือ
                      1.             ประเมินความปลอดภัย
                             2.             ประเมินผู้ได้รับบาดเจ็บ
                             3.             ทำการปฐมพยาบาล
                             4.             การเคลื่อนย้ายผู้ได้รับบาดเจ็บนำส่ง โรงพยาบาลใกล้เคียง


การดามกระดูก
หลักการดามกระดูก หรือการเข้าเฝือกชั่วคราว ( Splint )


เมื่อเราทราบว่าผู้บาดเจ็บมีภาวะกระดูกหัก จำเป็นจะต้องดามกระดูกก่อนให้การเคลื่อนย้าย 
โดยมีหลักในการดามดังนี้

       1. กระดูกที่มีลักษณะหักแบบเปิด ให้ใช้ผ้าสะอาดปิดคลุมบริเวณที่บาดเจ็บ
       2. ห้ามจัดหรือดึงกระดูกให้เข้าที่ ไม่ว่ากระดูกนั้นจะโก่ง งอ หรือคด
       3. ผูกเฝือกให้แน่นพอควร เพื่อให้เลือดไหลเวียนได้สะดวก
       4. ดามแบบ " สูง1 ต่ำ 1 " เสมอ ทุกครั้งที่ดามกระดูก ให้ใช้หลักการดังนี้ " ดามให้เฝือกอยู่สูงกว่าส่วนที่หักขึ้นไป 1 ข้อ และดามให้เฝือกอยู่ต่ำกว่าส่วนที่หักลงไป 1 ข้อ" เช่น กระดูกปลายแขนหัก (กระดูกแขนที่อยู่ระหว่างข้อมือจนถึงข้อศอก ) คุณต้องดามให้เฝือกยาวกว่าข้อศอก (สูง 1) และยาวกว่าข้อมือ( ต่ำ 1 ) ถ้าคุณดามได้ดังนี้ จะส่งผลให้ผู้ป่วยเจ็บน้อยมากเวลาเคลื่อนย้าย



ชนิดของแผล



แผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ

1.             แผลปิด  ได้แก่  แผลพกช้ำ แผลถลอกตามร่างกาย






บาดแผลถลอก เกิดจากการที่ของแข็งที่มีผิวหยาบ มากระทบหรือเสียดสีกับผิวหนัง 
หรืออาจเกิดจากการขีดข่วนของของมีคมหรือของเล่ม เช่นลวดหนาม เส้นลวดหรือเศษไม้เป็นต้น 
ลักษณะของบาดแผลถลอกที่เกิดจากการขีดข่วนของของแหลมหรือของมีคม จะมีลักษณะเป็นเส้นหรือเป็นแนว 
ในการชันสูตรพลิกศพ ศพที่มีร่องรอยของบาดแผลถลอกจะมีลักษณะของบาดแผลเป็นสีน้ำตาล
 บริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลถลอกจะแห้งและแข็งกว่าผิวหนังบริเวณอื่น
 เพราะน้ำที่อยู่ภายในร่างกาย สามารถระเหยออกไปได้มากกว่าที่อื่น    

วิธีการปฐมพยาบาล  เมื่อเกิดบาดแผลถลอกสิ่งที่จะตามมาก็คือ มีเลือดออกซิบๆ
 ดังนั้นให้รีบทำการล้างแผลทันที เพื่อป้องกันการติดเชื้อและอักเสบของแผล 
อาจล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือล้างแผล และทาด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ



1.             แผลเปิด ได้แก่ แผลฉีกขาด




บาดแผลฉีกขาด(LACERATION)
   หมายถึง แผลฉีกขาดลึกกว่าชั้นผิวหนังและขอบแผลไม่เรียบ ถ้าขอบแผลกระรุ่งกระริ่งให้เติมคำว่า 
กระรุ่งกระริ่งลงไปด้วย และอธิบายรูปลักษณะของแผลฉีกขาดต่อท้าย เช่น 
แผลฉีกขาดขอบไม่เรียบเป็นรูปดาว เป็นต้น ถ้าฉีกขาด จนหนังหายไปหรือเปิดออก 
(AVULSION) ก็ให้ต่อท้ายลักษณะแผลฉีกขาดนั้นเช่นเดียวกัน
แผลฉีกขาดของเรียบ (CUT WOUND) หมายถึง บาดแผลถูกของมีคม


วิธีการปฐมพยาบาล ล้างบาดแผลและรอบบาดแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่
ทำความสะอาดสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในบาดแผลออกกดบาดแผล ห้ามเลือดด้วยผ้าสะอาด
 ประมาณ 3-5 นาที ทำความสะอาดบาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและปิดแผลด้วยพลาสเตอร์
หรือผ้าปิดแผลส่วนการดูแลแผลถลอก และ บาดแผลฉีกขาดขนาดใหญ่ควรรีบทำการห้ามเลือด
 และรีบนำส่งโรงพยาบาล

อุปกรณ์การปฐมพยาบาล



ไม้ดามขา - แขน


คอล่า

เปลบอร์ด


KED

กระเป๋ายา


เจ็บป่วยฉุกเฉิน 1669







1669 โทรฟรี

หน้าที่ เพื่อทุกชีวิต



ผมนายเมธา สมบูรณ์ฐานะ 




กู้ภัยสว่าง

สพฉ 1669



เพราะชีวิตคนเรา รอเวลาไม่ได้