แผลแบ่งออกเป็น 2 ชนิดคือ
1. แผลปิด ได้แก่ แผลพกช้ำ แผลถลอกตามร่างกาย
บาดแผลถลอก เกิดจากการที่ของแข็งที่มีผิวหยาบ
มากระทบหรือเสียดสีกับผิวหนัง
หรืออาจเกิดจากการขีดข่วนของของมีคมหรือของเล่ม
เช่นลวดหนาม เส้นลวดหรือเศษไม้เป็นต้น
ลักษณะของบาดแผลถลอกที่เกิดจากการขีดข่วนของของแหลมหรือของมีคม
จะมีลักษณะเป็นเส้นหรือเป็นแนว
ในการชันสูตรพลิกศพ
ศพที่มีร่องรอยของบาดแผลถลอกจะมีลักษณะของบาดแผลเป็นสีน้ำตาล
บริเวณผิวหนังที่มีบาดแผลถลอกจะแห้งและแข็งกว่าผิวหนังบริเวณอื่น
เพราะน้ำที่อยู่ภายในร่างกาย สามารถระเหยออกไปได้มากกว่าที่อื่น
วิธีการปฐมพยาบาล เมื่อเกิดบาดแผลถลอกสิ่งที่จะตามมาก็คือ
มีเลือดออกซิบๆ
ดังนั้นให้รีบทำการล้างแผลทันที
เพื่อป้องกันการติดเชื้อและอักเสบของแผล
อาจล้างด้วยน้ำสะอาดหรือน้ำเกลือล้างแผล
และทาด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อ
1.
แผลเปิด
ได้แก่ แผลฉีกขาด
บาดแผลฉีกขาด(LACERATION)
หมายถึง แผลฉีกขาดลึกกว่าชั้นผิวหนังและขอบแผลไม่เรียบ
ถ้าขอบแผลกระรุ่งกระริ่งให้เติมคำว่า
กระรุ่งกระริ่งลงไปด้วย
และอธิบายรูปลักษณะของแผลฉีกขาดต่อท้าย เช่น
แผลฉีกขาดขอบไม่เรียบเป็นรูปดาว
เป็นต้น ถ้าฉีกขาด จนหนังหายไปหรือเปิดออก
(AVULSION) ก็ให้ต่อท้ายลักษณะแผลฉีกขาดนั้นเช่นเดียวกัน
แผลฉีกขาดของเรียบ (CUT WOUND) หมายถึง บาดแผลถูกของมีคม
แผลฉีกขาดของเรียบ (CUT WOUND) หมายถึง บาดแผลถูกของมีคม
วิธีการปฐมพยาบาล ล้างบาดแผลและรอบบาดแผลด้วยน้ำสะอาดและสบู่
ทำความสะอาดสิ่งแปลกปลอมที่อยู่ในบาดแผลออกกดบาดแผล
ห้ามเลือดด้วยผ้าสะอาด
ประมาณ 3-5 นาที
ทำความสะอาดบาดแผลด้วยน้ำยาฆ่าเชื้อและปิดแผลด้วยพลาสเตอร์
หรือผ้าปิดแผลส่วนการดูแลแผลถลอก
และ บาดแผลฉีกขาดขนาดใหญ่ควรรีบทำการห้ามเลือด
และรีบนำส่งโรงพยาบาล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น